Monday, June 4, 2012

ใบงานที่ ๑ รายงานกลุ่ม (ทฤษฎี)

เรื่อง ระบบกระดูก 
รายวิชา พ 30105 สุขศึกษาและพลศึกษา 5 
ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2555


จัดทำโดย

             
            นาย นพรัตน์  สกลสนธิเศรษฐ์    ชั้น ม. 6/4  เลขที่ 17


                 นาย นภัส      เพ็ชรสันทัด        ชั้น ม. 6/4  เลขที่ 18        

            นาย พัชรพล  โอฐสัตย์            ชั้น ม. 6/4  เลขที่ 20  

             นาย พีร         ฉายศิริกุล         ชั้น ม. 6/4  เลขที่ 22

Sunday, June 3, 2012

ระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ

ระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ
ระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อของร่างกายทำงานสัมพันธ์กันโดยที่โครงกระดูกเป็นโครงสร้างที่ใช้ค้ำจุนร่างกาย ให้คงรูปร่าง ป้องกันส่วนที่อ่อนนุ่มของร่างกาย และช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยการทำงานร่วมกันกับกล้ามเนื้อ

ระบบโครงกระดูก
ระบบกระดูกของมนุษย์ทำหน้าที่พยุงและป้องกันอวัยวะภายในของร่างกายตลอดจนเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อประกอบด้วย
โครงกระดูกมากกว่า 200 ชิ้น
โครงกระดูกมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
1. ค้ำจุนละรักษารูปร่างให้ทรงตัวอยู่ได้
2. ป้องกันอวัยวะภายในร่างกาย เช่น กระดูกซี่โครงป้องกันหัวใจ ปอด และตับกะโหลกศีรษะป้องกันเนื้อเยื่อสมอง เป็นต้น
3.เป็นที่ยึดเกาะของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเยื่อช่วยในการเคลื่อนที่
4.สร้างเม็ดเลือด ไขกระดูกที่อยู่ภายในกระดูกจะทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
5.เป็นแหล่งสะสมสำคัญของธาตุแคลเซียมละฟอสฟอรัส

กระดูกของคนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กระดูกแกน (Axial Skeleton) หมายถึง กระดูกที่อยู่บริเวณกลางๆ ของร่างกาย ประกอบด้วย
1.1 กระดูกกะโหลกศีรษะ (Skull) ภายในกะโหลกศีรษะเป็นโพรงสำหรับบรรจุสมอง จะมีกระดูกกะโหลกศีรษะและ กระดูกย่อยหลายๆ ชิ้นเชื่อมติดกัน กระดูกกะโหลกศีรษะจึงทำหน้าที่ห่อหุ้มและป้องกันสมองด้วย

1.2 กระดูกสันหลัง (Vertebra) เป็นส่วนของกระดูกแกนที่ช่วยค้ำจุนและรองรับน้ำหนักของร่างกาย กระดูกสันหลัง เป็นแนวกระดูกที่ทอดอยู่ทางด้านหลังของร่างกาย ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ เป็นข้อๆ ติดกันด้วยกล้ามเนื้อและเอ็น ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีแผ่นกระดูกอ่อนหรือที่เรียกทั่วไปว่า หมอนรองกระดูก (Intervertebral disc)” ทำหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกสันหลังแต่ละข้อ เพื่อป้องกันการเสียดสี ถ้าแผ่นกระดูกอ่อนนี้เสื่อมเราจะปวดหลัง
และไม่สามารถบิดหรือเอียงตัวได้

1.3 กระดูกซี่โครง (Ribe) มีลักษณะเป็นซี่ๆ มีทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ชิ้น ทำหน้าที่เป็นกำแพงให้ส่วนอก กระดูกซี่โครง จะเชื่อมกบกระดูกอก (Sternum) ด้วยกระดูกอ่อน ระหว่างกระดูกซี่โครงมีกล้ามเนื้อยึดซี่โครงทั้งแถบนอกและแถบใน การหดตัวและการคลายตัวของกล้ามเนื้อ 2 ชุดนี้สลับกันเกิดการเคลื่อนที่เข้า ออกของอากาศภายนอกและภายในช่องอก มีผลทำให้กระดุกซี่โครงเคลื่อนขึ้นและลง และทำให้ปริมาตรภายในช่องอกเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

2. กระดูกรยางค์ (Appendicular Skeleton) หมายถึงโครงกระดูกที่อยู่รอบนอกกระดูกแกนซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหว ของแขน ขา โดยตรง รวมทั้งกระดูกสะบักและกระดูกเชิงกรานที่เป้นฐานรองกระดูกแขนและกระดูกขา กระดูกแขนเริ่มแต่บริเวณไหล่ มีกระดูกสะบักและกระดูกไหปลาร้าทำหน้าที่เป็นฐานรองแขน เชื่อมโยงระหว่างกระดูกสันหลัง ด้านบนของลำตัวกับกระดูกต้นแขน กระดูกขาเริ่มตั้งแต่บริเวณเชิงกรานที่ต่อกับกระดูกต้นขา และจากกระดูกต้นขา มีสะบ้าหัวเข่าที่ฝังอยู่ในเอ็นของกล้ามเนื้อและต่อกับกระดูกแข็ง


ข้อต่อและเอ็นเชื่อมกระดูก

ข้อต่อเกิดจากกระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปที่อยู่ใกล้กันมาเชื่อมต่อกันโดยมีเอ็นละกล้ามเนื้อช่วยยึดเสริมความแข็งแรง ทำให้มี ความยืดหยุ่นในการเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น



ระบบกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อ (Muscle) เป็นเนื้อเยื่อยืดหยุ่นพิเศษพบได้ทุส่วนของร่างกาย กล้ามเนื้อบางชนิดอยู่ใต้อำนาจจิตใจ สามารถบังคับได้ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจหรือกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถบังคับได้ กล้ามเนื้อในร่างกายแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้

1. กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) เป็นกล้ามเนื้อเดียวที่ยึดติดกับกระดูก บางครั้งจึงเรียกว่า กล้ามเนื้อกระดูก ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลายขาวดำสลับกัน ในหนึ่งเซลล์จะมีหลายนิวเคลียส กล้ามเนื้อลายมีความแข็งแรงและสามารถหดตัวได้สูง ควบคุมการทำงานโดยระบบประสาทส่วนกลาง เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขากล้ามเนื้อลำตัว เป็นต้น
2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเรียบไม่มีลาย เซลล์มีลักษณะแบนยาว ปลายแหลมเรียวรูปร่างคล้ายกระสวย ภายในมีนิวเคลียสอันเดียว หดตัวได้ ใช้พลังงานน้อย ควบคุมการทำงานโดยระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ผนังลำไส้ ปอด ผนังกระเพาะอาหาร เป็นต้น
3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) เป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโยเฉพาะ เซลล์จะมีลายพาดขวาง มีนิวเคลียสหลายอัน เหมือนกล้ามเนื้อลาย ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเรียบ






การทำงานของกล้ามเนื้อ ได้แก่
1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย เกิดจากการทำงานร่วมกันของโครงกระดูก กล้ามเนื้อ และระบบประสาท โดยมีการหดตัว ของกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับโครงกระดูก ทำให้กระดูกและข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหว
2. การหดตัวของกล้ามเนื้อ มีผลทำให้เกิดการเคลื่อนเซลล์ของกล้ามเนื้อได้พัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อการหดตัวโดยเฉพาะกล้ามเนื้อบางชนิดสามารถหดตัวได้เร็วมาก เช่น การเคลื่อนไหวของนัยน์ตา หารเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าก็ตามกล้ามเนื้อจะทำงานโดยการหดตัว และเมื่อหยุดทำงานกล้ามเนื้อจะคลายตัว

การทำงาน
กล้ามเนื้อคือ ส่วนที่เป็นเนื้อของเรา กล้ามเนื้อแต่ละมัดประกอบด้วยใยกล้ามเนื้อจำนวนมากรวมกันเป็นมัด ที่ปลายมัดคือ เอ็นทำหน้าที่เชื่อมกล้ามเนื้อเข้ากับกระดูก เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวใยกล้ามเนื้อแต่ละเส้นจะสั้นลง กล้ามเนื้อทั้งมัดจะหดตัวลงดึงเอ็นซึ่งจะดึงกระดูกเข้ามาใกล้กันมากขึ้น เช่น การเคลื่อนไหวของนักกีฬา กล้ามเนื้อด้านหลังและด้านหน้าต้นขาหัวเข่างอและเหยียดตามลำดับ ขณะที่กล้ามเนื้อน่องและหน้าแข้งจะงอและเหยียดข้อเท้า ตามลำดับ




การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลเมื่อมีแมลงและสัตว์มีพิษกัดต่อย
 1.  แมลง
แมลงหลายชนิดมีเหล็กใน  เช่น  ผึ้ง  ต่อ  แตน  เป็นต้น  เมื่อต่อยแล้วมักจะทิ้งเหล็กในไว้  ภายในเหล็กในจะมีพิษของแมลงพวกนี้มักมีฤทธิ์ที่เป็นกรด  บริเวณที่ถูกต่อยจะบวมแดง  คันและปวด  อาการปวดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบริเวณที่ต่อยและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
                วิธีปฐมพยาบาล
                1.  พยายามเอาเหล็กในออกให้หมด  โดยใช้วัตถุที่มีรู  เช่น  ลูกกุญแจ  กดลงไปตรงรอยที่ถูกต่อย  เหล็กในจะโผล่ขึ้นมาให้คีบออกได้
                2.  ใช้ผ้าชุบน้ำยาที่ฤทธิ์ด่างอ่อน  เช่น  น้ำแอมโมเนีย  น้ำโซดาไบ                คาบอร์เนต  น้ำปูนใส  ทาบริเวณแผลให้ทั่วเพื่อฆ่าฤทธิ์กรดที่ค้างอยู่ในแผล
                3.  อาจมีน้ำแข็งประคบบริเวณที่ถูกต่อยถ้าแผลบวมมาก
                4.  ถ้ามีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวด  ถ้าคันหรือผิวหนังมีผื่นขึ้นให้รับประทานยาแก้แพ้
                5.  ถ้าอาการไม่ทุเลาลง  ควรไปพบแพทย์
 2.  แมงป่องหรือตะขาบ
                ผู้ที่ถูกแมงป่องต่อยหรือตะขาบกัด  จะมีอาการเจ็บปวดมากกว่าแมลงชนิดอื่น  เพราะแมงป่องและตะขาบมีพิษมากกว่า  บางคนที่แพ้สัตว์ประเภทนี้อาจมีอาการปวดและบวมมาก  มีไข้สูง  คลื่นไส้  บางคนมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและมีอาการชักด้วย
                วิธีปฐมพยาบาล
                1.  ใช้สายรัดหรือขันชเนาะเหนือบริเวณเหนือบาดแผล  เพื่อป้องกันไม่ให้พิษแพร่กระจายออกไป
                2.  พยายามทำให้เลือดไหลออกจากบาดแผลให้มากที่สุด  อาจทำได้หลายวิธี  เช่น  เอามือบีบ  เอาวัตถุที่มีรูกดให้แผลอยู่ตรงกลางรูพอดี  เลือดจะได้พาเอาพิษออกมาด้วย
                3.  ใช้แอมโมเนียหอมหรือทิงเจอร์ไอโอดี 2.5%  ทาบริเวณแผลให้ทั่ว
                4.  ถ้ามีอาการบวม  อักเสบและปวดมาก  ใช้ก้อนน้ำแข็งประคบบริเวณแผล  เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดด้วย
                5.  ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลง  ต้องรีบนำส่งแพทย์
3.  แมงกะพรุนไฟ
                แมงกะพรุนไฟเป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง  ซึ่งมีสารพิษอยู่ที่หนวดของมัน  แมงกะพรุนไฟมีสีน้ำตาล  เมื่อคนไปสัมผัสตัวมันจะปล่อยพิษออกมาถูกผิวหนัง  ทำให้ปวดแสบปวดร้อนมาก  ผิวหนังจะเป็นผื่นไหม้  บวมพองและแตกออก  แผลจะหายช้า  ถ้าถูกพิษมากๆ  จะมีอาการรุนแรงถึงกับเป็นลมหมดสติและอาจถึงตายได้
                วิธีการปฐมพยาบาล
                1.  ใช้ผ้าเช็ดตัวหรือทรายขัดถูบริเวณที่ถูกพิษแมงกะพรุนไฟ  เพื่อเอาพิษที่ค้างอยู่ออกหรือใช้ผักบุ้งทะเลซึ่งหาง่ายและมีอยู่บริเวณชายทะเล  โดยนำมjkาล้างให้สะอาด  ตำปิดบริเวณแผลไว้
                2.  ใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง  เช่น  แอมโมเนียหรือน้ำปูนใส  ชุบสำลีปิดบริเวณผิวหนังส่วนนั้นนานๆ  เพื่อฆ่าฤทธิ์กรดจากพิษของแมงกะพรุน
                3.  ให้รับประทานยาแก้ปวด
                4.  ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลง  ให้รีบนำส่งแพทย์โดยเร็ว
4.  งู
                ประเทศไทยมีงูหลายชนิด  มีทั้งงูพิษและงูไม่มีพิษ  งูพิษร้ายแรงมีอยู่ 7 ชนิด  คือ  งูเห่า  งูจงอาง  งูแมวเซา  งูกะปะ  งูสามเหลี่ยม  งูเขียวหางไหม้  และงูทะเล  พิษของงูมีลักษณะเป็นสารพิษ  งูแต่ละชนิดมีลักษณะของสารไม่เหมือนกัน  เมื่อสารพิษนี้เข้าไปสู่ร่างกายแล้วสามารถซึมผ่านเข้าไปในกระแสเลือดที่ไปเลี้ยงตามส่วนต่างๆ  เกิดขึ้นในร่างกายไม่เหมือนกัน  ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะงูพิษได้ 3 ประเภท
ลักษณะบาดแผลที่ถูกงูพิษและงูไม่มีพิษกัด
                งูพิษมีเขี้ยวยาว 2 เขี้ยว  อยู่ด้านหน้าของขากรรไกรบนมีลักษณะเป็นท่อปลายแหลมเหมือนเข็มฉีดยา  มีท่อต่อมน้ำพิษที่โคนเขี้ยว  เมื่องูกัดพิษงูจะไหลเข้าสู่ร่างกายทางรอยเขี้ยว ส่วนงูไม่มีพิษจะไม่มีเขี้ยว  มีแต่ฟันธรรมดาแหลมๆ  เล็กๆ  เวลากัดจึงไม่มีรอยเขี้ยว
             
 วิธีปฐมพยาบาล
                1.  ใช้เชือก  สายยาง  สายรัด  หรือผ้าผืนเล็กๆ  รัดเหนือแผลประมาณ 5-10 เซนติเมตร  โดยให้บริเวณที่ถูกรัดอยู่ระหว่างแผลกับหัวใจ  รัดให้แน่นพอสมควร  แต่อย่าให้แน่นจนเกินไป  พอให้นิ้วก้อยสอดเข้าได้  เพื่อป้องกันไม่ให้พิษงูเข้าสู่หัวใจโดยรวดเร็ว  และควรคลายสายที่รัดไว้  ควรใช้สายรัดอีกเส้นหนึ่งรัดเหนืออวัยวะที่ถูกงูกัดขึ้นไปอีกเปลาะหนึ่ง  เหนือรอยรัดเดิมเล็กน้อยจึงค่อยคลายผ้าที่รัดไว้เดิมออก  ทำเช่นนี้ไปจนกว่าจะได้ฉีดยาเซรุ่ม
                2.  ล้างบาดแผลด้วยน้ำด่างทับทิมแก่ๆ  หลายๆ  ครั้ง  และใช้น้ำแข็งหรือถุงน้ำแข็งประคบหรือวางไว้บนบาดแผล  พิษงูจะกระจายเข้าสู่ร่างกายได้ช้าลง
                3.  ให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในท่าที่บาดแผลงูพิษกัดอยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ  นอนอยู่นิ่งๆ  เคลื่อนไหวร่างกายให้น้อยที่สุด  เพื่อไม่ให้พิษงูกระจายไปตามร่างกาย  และควรปลอบใจให้ผู้ป่วยสบายใจ
                4.  ไม่ควรให้ผู้ป่วยเสพของมึนเมา  เช่น  กัญชา  สุรา  น้ำชา  กาแฟ  เพราะจะทำให้หัวใจเต้นแรง  อาจทำให้พิษงูกระจายไปทั่วร่างกายเร็วขึ้น
                5.  รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด  ถ้านำงูที่กัดไปด้วยหรือบอกชื่องูที่กัดได้ด้วยยิ่งดี  เพราะจะทำให้  เลือกเซรุ่มแก้พิษงูได้ตรงตามพิษงูที่กัดได้ง่ายยิ่งขึ้น
                การป้องกันงูพิษกัด
                1.  ถ้าต้องออกจากบ้านเวลากลางคืนหรือต้องเดินทางเข้าไปในป่าหรือทุ่งหญ้าหรือในที่รก  ควรสวมรองเท้าหุ้มส้นหรือรองเท้าหุ้มข้อและสวมกางเกงขายาว
                2.  ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในที่รกเวลากลางคืนหรือเดินทางไปในเส้นทางที่น่าจะเป็นที่อยู่อาศัยหรือที่หากินของงู  ถ้าจำเป็นควรมีไฟส่องทางและควรใช้ไม้แกว่งไปมาให้มีเสียงดังด้วย  แสงสว่างหรือเสียงดังจะทำให้งูตกใจหนีไปที่อื่น
                3.  หากจำเป็นต้องเดินทางไปในที่มีงูชุกชุมหรือเดินทางไปในที่ซึ่งมีโอกาสได้รับอันตรายจากงูกัด  ควรระมัดระวังเป็นพิเศษและควรเตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลติดมือไปด้วย
                4.  เวลาที่งูออกหากินคือเวลาที่พลบค่ำและเวลาที่ฝนตกปรอยๆ  ที่ชื้นแฉะ  งูชอบออกหากินกบและเขียด  ในเวลาและสถานที่ดังกล่าว  ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
                5.  ไม่ควรหยิบของหรือยื่นมือเข้าไปในโพรงไม้  ในรู  ในที่รก  กอหญ้า  หรือกองไม้  เพราะงูพิษอาจอาศัยอยู่ในที่นั้น

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยเป็นลม
                สาเหตุ  เกิดจากสมองมีเลือดไปเลี้ยงมากเกินไป  ซึ่งอาจเนื่องมาจากอยู่กลางแดดนานเกินไปหรือดื่มสุราขณะที่อากาศร้อนจัด  เป็นต้น
          อาการ  ใบหน้าและนัยน์ตาแดง  เวียนศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  กระหายน้ำ  หายใจถี่  ชีพจรเต้นเร็วและเบา  ผิวหนังและใบหน้าแห้ง  ตัวร้อน  ถ้าเป็นมากอาจจะมีอาการชักและหมดสติได้
                วิธีการปฐมพยาบาล
                1.  รีบนำผู้ป่วยเข้าในร่มที่ใกล้ที่สุด
                2.  ให้ผู้ป่วยนอนหงายแล้วยกศีรษะให้สูงกว่าลำตัว
                3.  อย่าให้แอมโมเนียหรือยากระตุ้นหัวใจ  เพราะจะกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
                4.  ขยายเสื้อผ้าของผู้ป่วยให้หลวม  เพื่อให้เลือดหมุนเวียนได้สะดวก
                5.  เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวแล้วและร่างกายเย็นมาก  ให้เอาผ้าห่อคลุมตัวให้อบอุ่นและหาเครื่องดื่มร้อนๆ  ให้ดื่มเพื่อให้ความอบอุ่นร่างกาย
                6.  ถ้าผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
การปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดแผล
                เมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายถูกของมีคมหรือถูกกระแทกอาจจะทำให้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ  ช้ำหรือฉีกขาดเป็นบาดแผลขึ้นกับตำแหน่งบาดแผล  และความรุนแรงของแรงกระแทกที่มีถึงอวัยวะภายใน  รวมทั้งชนิดของเชื้อโรคที่เข้าสู่บาดแผล  ดังนั้นเมื่อเกิดบาดแผลขึ้นต้องรีบปฐมพยาบาล  เพื่อลดอาการเจ็บปวดและป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ
                การปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดแผลหรือการทำแผลขึ้นอยู่กับลักษณะของบาดแผล  ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ  คือ  บาดแผลฟกช้ำและบาดแผลแยก
                1.  แผลฟกช้ำ
                บาดแผลฟกช้ำหรือบาดแผลเปิด  เป็นบาดแผลที่ไม่มีร่องรอยของผิวหนัง  แต่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและหลอดเลือดบริเวณที่อยู่ใต้ผิวหนังส่วนนั้น  มักเกิดจากแรงกระแทกของแข็งที่ไม่มีคม  เช่น  ถูกชน  หกล้ม  เป็นต้น  ทำให้เห็นเป็นรอยฟกช้ำ  บวมแดงหรือเขียว
                การปฐมพยาบาล
                1.  ให้ประคบบริเวณนั้นด้วยความเย็น  เพราะความเย็นจะช่วยให้เลือดใต้ผิวหนังบริเวณนั้นออกน้อยลง  โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบหรือใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบเบาๆ  ก็ได้
                2.  ถ้าบาดแผลฟกช้ำเกิดขึ้นกับอวัยวะที่ต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ  เช่น  ข้อมือ  ข้อเท้า  ข้อศอก  เป็นต้น  ให้ใช้ผ้าพันแผลชนิดเป็นม้วนที่ยืดหยุ่นได้พันรอบข้อเหล่านั้นให้แน่นพอสมควร  เพื่อช่วยให้อวัยวะที่มีบาดแผลอยู่นิ่งๆ  และพยายามอย่างเคลื่อนไหวผ่านบริเวณนั้น  เพราะจะทำให้รอยช้ำค่อยๆ  จางหายไป
                2.  แผลแยก
                บาดแผลแยกหรือบาดแผลเปิด  เป็นบาดแผลที่เกิดจากการฉีกขาดของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อจากการถูกของมีคมบาด  แทง  กรีด  หรือถูกวัตถุกระแทกแรงจนเกิดบาดแผล  มองเห็นมีเลือดไหลออกมา  บาดแผลแยกมีลักษณะแตกต่างกัน  แบ่งได้เป็น 4 ชนิด  ดังนี้
                1.  แผลถลอก
                เกิดจากผิวหนังถูกของแข็งหรือของมีคม  ขูด  ขีด  ข่วน  หรือครูด  มักเป็นบาดแผลตื้น  มีเลือดไหลซึมๆ  เช่น  หกล้มหัวเข่าถลอก  ถูกเล็บข่วน  เป็นต้น
                การปฐมพยาบาลแผลถลอก
                1.  ให้ชำระล้างบาดแผลด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาด  ถ้ามีเศษหิน  ขี้ผง  ทราย  อยู่ในบาดแผลให้ใช้น้ำสะอาดล้างออกให้หมด
                2.  ใช้ปากคีบสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70%  พอหมาดๆ  เช็ดรอบๆ  บาดแผลเพื่อฆ่าเชื้อโรครอบๆ  (ไม่ควรเช็ดลงบาดแผลโดยตรง  เพราะจะทำให้เจ็บแสบมาก  เนื่องจากยังเป็นแผลสด)
                3.  ใช้สำลีชุบยาแดงหรือทิงเจอร์ใส่แผลสด (สีส้มๆ)  ทาลงบาดแผล  แล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ต้องปิดบาดแผล  ยกเว้นบาดแผลที่เท้าซึ่งควรปิดด้วยผ้ากอซสะอาด  เพื่อป้องกันฝุ่นละออง
                4.  ระวังอย่าให้บาดแผลถูกน้ำ
                5.  ไม่ควรแกะหรือเกาบาดแผลที่แห้งตกสะเก็ดแล้ว  เพราะทำให้เลือดไหลอีก  สะเก็ดแผลเหล่านั้นจะแห้งและหลุดออกเอง
                2.  แผลตัด
                เกิดจากถูกของมีคมบาดลึกเข้าไปในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง  เช่น  มีดบาด  กระจกบาด  ฝากระป๋อง  เป็นต้น  อาจเป็นบาดแผลตื้นๆ  หรือบาดแผลตัดลึกก็ได้  ซึ่งถ้าถูกเส้นเลือดใหญ่จะมีเลือดไหลออกมา
                การปฐมพยาบาลเมื่อมีแผลตัด
                1.  ถ้าบาดแผลตัดเป็นบาดแผลตื้น  ควรห้ามเลือดโดยใช้นิ้วสะอาดหรือผ้าจดบนบาดแผลจนเลือดหยุดไหล
                2.  เมื่อเลือดหยุดไหลแล้วให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด  แล้วใส่ยาแดงหรือทิงเจอร์ใส่แผลสด
                3.  รวบขอบบาดแผลที่ตัดเข้าหากันแล้วปิดด้วยปลาสเตอร์
                4.  ระวังอย่าให้แผลถูกน้ำ 2-3 วัน  รอยแยกของแผลตัดจะติดกันสนิท
                5.  ในกรณีที่แผลลึกและยาวซึ่งต้องเย็บแผล  ควรห้ามเลือดแล้วปิดแผลด้วยผ้าสะอาด  แล้วรีบนำผู้บาดเจ็บส่งแพทย์
                3.  แผลฉีกขาด
                เกิดจากถูกของแข็งกระแทกอย่างแรงทำให้เนื้อเยื่อและผิวหนังฉีกขาด  ขอบแผลจะเป็นรอยกะรุ่งกะริ่ง  บางตอนตื้น  บางตอนลึก  ไม่เรียบเสมอกันและจะมีเลือดออกมาก  เช่น  แผลถูกรถชน  แผลถูกระเบิด  แผลถูกสุนัขกัดกระชาก  เป็นต้น  แผลชนิดนี้มีเนื้อเยื่อถูกทำลายมากกว่าแผลตัดบาดแผลมักกว้าง  เชื้อโรคเข้าสู่บาดแผลได้ง่าย
                การปฐมพยาบาลเมื่อมีแผลฉีกขาด
                1.  บาดแผลฉีกขาดที่มีเลือดไหลออกมาก  ควรรีบห้ามเลือดโดยเร็ว  โดยใช้ผ้าสะอาดที่มีความนุ่มและหนาพอสมควรกดลงบนบาดแผล  หากเลือดยังไม่หยุดไหลแสดงว่าเส้นเลือดใหญ่ฉีกขาด  ควรห้ามเลือดโดยวิธีการกดเส้นเลือดแดงใหญ่บริเวณนั้นร่วมกับการใช้ผ้ากดห้ามเลือด
                2.  เมื่อเลือดหยุดไหลแล้ว  ให้ทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ แผลด้วยน้ำสะอาด  แล้วปิดแผลด้วยผ้ากอซ  แล้วใช้ปลาสเตอร์หรือผ้าพันแผลพันรอบให้แน่นพอสมควร
                3.  นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล  เพื่อให้ตกแต่งบาดแผลด้วยวิธีที่ถูกต้องต่อไป
                4.  แผลถูกแทงหรือยิง
                เกิดจากการถูกของแข็งทิ่มแทงทะลุเข้าไปใต้ผิวหนัง  ขนาดของแผลมักเล็กแต่ลึก  มีเลือดออกมาภายนอกไม่มาก  แต่มีเลือดตกภายใน  เพราะอวัยวะภายในบางส่วนอาจฉีกขาดจากการถูกแทงหรือยิง  บางครั้งอาจเสียชีวิตได้  เช่น  ถูกมีดแทง  ถูกตะปูตำ  ถูกยิงด้วยกระสุนปืน  เป็นต้น
                การปฐมพยาบาลเมื่อมีบาดแผลถูกแทงหรือยิง
                1.  แผลถูกแทงหรือยิงส่วนใหญ่เป็นบาดแผลฉกรรจ์และอันตรายมากควรนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
                2.  ระหว่างทาง  ควรช่วยห้ามเลือดที่ไหลออกมาภายนอกโดยใช้ผ้าสะอาดกดบนแผล  ส่วนเลือดที่ออกภายในซึ่งเรามองไม่เห็นนั้น  อาจใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบรอบ ๆ แผลเพราะความเย็นจะช่วยให้เลือดไหลช้าลง
                3.  สังเกตอาการผู้ป่วย  ถ้าพบว่าหยุดหายใจหรือหายใจแผ่วให้ผายปอดทันที  หรือหัวใจหยุดเต้นหรือแผ่วเบา  ให้รีบนวดหัวใจร่วมกับการผายปอด

Saturday, June 2, 2012

การประคบเย็น และ การประคบร้อน

การประคบเย็น
ความเย็นมีคุณสมบัติในการทำให้หลอดเลือดหดตัว เพิ่มความหนืดของเลือด ส่งผลทำให้เลือดแข็งตัว ลดการเผาผลาญของเซลล์บริเวณที่มีการบาดเจ็บ เป็นการช่วยลดการใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อซึ่งเป็นการช่วยชะลอความต้องการ ออกซิเจนของเนื้อเยื่อบริเวณที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือดทำให้ลดการบาดเจ็บ ของเนื้อเยื่อเพิ่มเติมที่เกิดจากการขาดเลือด นอก จากนี้ความเย็นยังมีผลช่วยลดความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดจากการหลั่งสารที่ทำ ให้เกิดความเจ็บปวดของร่างกาย และช่วยลดการนำกระแสประสาทที่รับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดซึ่งทำให้เกิดอาการชา
ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ความเย็นนำไปใช้ในกรณีที่มีการอักเสบที่เกิดจากการบาดเจ็บโดยทันทีทันใด  ซึ่ง บริเวณเหล่านี้จะมีการฉีกขาดของเส้นเลือดฝอย ทำให้เกิดการบวม การบวมที่มากเกินไปก็ทำให้เนื้อเยื่อโดยรอบถูกกดเบียดยังผลให้เซลล์ยิ่งมี การตายเพิ่มขึ้น และเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติมที่เกิดจากกาขาดเลือดของเนื้อเยื่อ ที่เกิดจากเส้นเลือดที่ฝอยแตกและการบวม เราจึงใช้ความเย็นใรระยะแรกของการบาดเจ็บยิ่งรวดเร็วยิ่งดี

 

 
การประคบร้อน
การประคบร้อน ความร้อนมีคุณสมบัติในการขยายหลอดเลือดเฉพาะที่ ทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณประคบได้มากขึ้น ทำให้ความหนืดของเลือดลดลง ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงซึ่งมีหน้าที่ในการนำออกซิเจนมาเลี้ยงเนื้อเยื่อมีปริมาณมากขึ้น ดังนั้น จึงเหมาะกับการบาดเจ็บที่เกิดจากการขาดเลือด เช่น กล้ามเนื้อที่เกิดจากการเกร็งตัวจากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ แผลที่มีพังผืดรั้งหลังการบาดเจ็บมาสักระยะ ความร้อนจะช่วยลดการบาดเจ็บ ลดการเกิดพังผืดจากการบาดเจ็บ คลายกล้ามเนื้อ และยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดในบริเวณนั้น มีการกระตุ้นรักษาตนเอง (Healing) จากโปรตีนที่มากับเลือด การที่เลือดหมุนเวียนมาก ก็คือ การนำเอาสารประกอบที่สังเคราะห์จากอาหารโปรตีนที่กินเข้าไป เพื่อทำให้ส่วนที่บาดเจ็บดีเหมือนเก่า

 

ข้อควรระวังคือ
1.ไม่ควรใช้ความร้อนมากไป เพราะจะทำให้ผิวหนังเกิดแผลพุพองได้
2.ไม่ควรใช้ในกรณีที่มีการบวมบาดเจ็บเฉียบพลัน เพราะจะทำให้บวมมากขึ้น
3.ไม่ควรใช้กับแผลเปิด เพราะจะทำให้แผลเปิดมากขึ้น และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เวลาในการประคบประมาณ 15-20 นาที และอาจตามด้วยการนวดเพื่อเพิ่มผลของการประคบร้อน
การใช้ความเย็นประคบ จะใช้ภายใน 24-48 ชม. หลังได้รับการบาดเจ็บ ส่วนการใช้ความร้อนจะเริ่มใช้หลังจาก 48 ชั่วโมงไปแล้ว
วิธีประคบ
นำน้ำแข็งหรือcool/hot-pack มาประคบบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ ถ้าเย็นเกินไปให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าขนหนูเป็นฉนวนกันปะทะโดยตรง ทำให้ลดความเย็นยะเยือกจัดจนเกินไป นานราว 10 – 15 นาที แล้วสลับพัก ทำซ้ำ วันละ 3 – 4 ครั้ง โดยกระจายเวลาประคบให้ห่างกันออกไป 3 – 4 ช.ม.ครั้งหนึ่ง การประคบร้อนก็เป็นแบบเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนเป็นวัตถุร้อนเท่านั้น

http://lisaguru.com/healthdiet/health-guru-v12no25-02
http://www.u-basketball.com/board/index.php?topic=1970.0